" พัฒนาเศรษฐกิจ ใส่ใจสุขภาพ ส่งเสริมวัฒนธรรมชุมชน สู่สังคมแห่งการเรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง "

ภารกิจนายก

สายตรงนายก





ศูนย์ดำรงธรมม

ร้องเรียน ร้องทุกข์

ปราบปรามทุจริต

คู่มือประชาชน

สถิติอุบัติเหตุ

ข่าวสารอาเซียน



facebook

โวท

ระบบสารสนเทศการจัดการฐานข้อมูลเบี้ยยังชีพ

ระบบสารสนเทศการศึกษาท้องถิ่น

ระบบข้อมูลกลางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ระบบศูนย์ข้อมูลเลือกตั้งผู้บริหาร สมาชิกสภา และทะเบียน อปท.

จังหวัดลำพูน

ชุดความรู้การเฝ้าระวังการทุจริตของหน่วยงานภาครัฐ

สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดลำพูน

จัดหางานลำพูน

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น

สตง

กระทรวงมหาดไทย

ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ (GINFO)

ict

จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

elaas

กรมการจัดหางาน

ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

ตรวจเช็คอีเมล์

สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 23/01/2560
วันนี้
114
เมื่อวานนี้
148
เดือนนี้
4,695
เดือนที่แล้ว
4,432
ปีนี้
36,241
ปีที่แล้ว
40,568
ทั้งหมด
158,231
ไอพี ของคุณ
18.206.12.157

ข้อมูลและสภาพทั่วไป
ประวัติความเป็นมาของเทศบาลตำบลหนองช้างคืน

     เทศบาลตำบลหนองช้างคืน เดิมเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองช้างคืน ซึ่งได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์บริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2556 และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบลเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2552
 

ข้อมูลสภาพทั่วไป 

 

ที่ตั้ง
    เทศบาลตำบลหนองช้างคืน  ตั้งอยู่ที่ 198 หมู่ที่ 2 ตำบลหนองช้างคืน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน อยู่ห่างจากอำเภอเมืองลำพูน ระยะทาง 13 กิโลเมตร พื้นที่ทั้งหมด 5.76 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,576 ไร่       

อาณาเขต
   ทิศเหนือ          ติดต่อตำบลท่ากว้าง  และตำบลหนองแฝก        อำเภอสารภี         จังหวัดเชียงใหม่
   ทิศใต้             ติดต่อตำบลประตูป่า  และตำบลเหมืองง่า          อำเภอเมืองลำพูน  จังหวัดลำพูน
   ทิศตะวันตก      ติดต่อตำบลท่ากว้าง                                   อำเภอสารภี        จังหวัดเชียงใหม่
   ทิศตะวันออก    ติดต่อตำบลเหมืองง่า  และตำบลอุโมงค์            อำเภอเมืองลำพูน  จังหวัดลำพูน

จำนวนหมู่บ้าน
      เทศบาลตำบลหนองช้างคืน มีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด  6 หมู่บ้าน   ประกอบด้วย



แผนภูมิแสดงเนื้อที่หมู่บ้านตำบลหนองช้างคืน    



ประชากร/ครัวเรือน    
       ตำบลหนองช้างคืน ปัจจุบันมีประชากรรวมทั้งสิ้น 3,609 คน แยกเป็น
-    ชาย  1,731 คน    
-    หญิง 1,878 คน
  ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ยเท่ากับ 627 คน ต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร

 
ลักษณะภูมิประเทศ
        ตำบลหนองช้างคืน  มีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ลำเหมืองชลประทาน พื้นดินเป็นดินปนทรายเหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืช ผัก และผลไม้ทุกชนิด โดยเฉพาะ ลำไย

การศึกษา
   1)  โรงเรียนบ้านหนองช้างคืน           จำนวน 1 แห่ง    ตั้งอยู่หมู่ที่ 2  
   2)  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเอกชน           จำนวน 1 แห่ง    ตั้งอยู่หมู่ที่ 4
   3)  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเทศบาล     จำนวน 1 แห่ง    ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
   4)  ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน   จำนวน 6 แห่ง    ตั้งอยู่หมู่ที่ 1-6
   5)  ศูนย์ไอซีทีเทศบาล                    จำนวน 1 แห่ง    ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
   6)  ศูนย์ไอซีที กศน.                       จำนวน 1 แห่ง    ตั้งอยู่หมู่ที่ 2

 จำนวนประชากรจำแนกตามระดับการศึกษา



อาชีพของประชากร



รายได้ของประชากร



การสาธารณสุข
   1)  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล       จำนวน 1  แห่ง     ตั้งอยู่หมู่ที่ 4   
   2)  สถานพยาบาลเอกชน                             จำนวน 2  แห่ง     ตั้งอยู่หมู่ที่ 2  
   3)  บริการสาธารณสุขหมู่บ้าน และ อสม.           จำนวน  6 แห่ง     ตั้งอยู่หมู่ที่ 1-6

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  1)  ตู้ยามตำรวจและตำรวจชุมชน                 จำนวน 1 แห่ง     ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
  2)  ศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน       จำนวน 1  แห่ง    ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
       และบรรเทาสาธารณภัยตำบลและอปพร.
  3)  ชมรมกำนันและผู้ใหญ่บ้านตำบลหนองช้างคืน       จำนวน  1 ชมรม    ตั้งอยู่หมู่ที่ 5

ศาสนา
     วัด/สำนักสงฆ์   จำนวน   4   แห่ง ดังนี้
 1)  วัดหัวฝาย               ตั้งอยู่หมู่ที่ 3   
 2)  วัดหนองช้างคืน        ตั้งอยู่หมู่ที่ 4   
 3)  วัดศรีทรายมูล          ตั้งอยู่หมู่ที่ 5   
 4)  วัดน้ำโค้ง                ตั้งอยู่หมู่ที่ 5   

 การนับถือศาสนาของประชาชน ดังนี้



ฌาปนกิจสถาน 
         มีจำนวน  4 แห่ง ดังนี้ 
   1)  สุสานหนองผำ               ตั้งอยู่หมู่ที่ 1
   2)  สุสานบ้านหนองช้างคืน     ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
   3)  สุสานกู่เบี้ย                   ตั้งอยู่หมู่ที่ 3
   4)  สุสานหนองเล็ง              ตั้งอยู่หมู่ที่ 5

การกีฬาและนันทนาการ
   1)  สนามฟุตบอล           จำนวน 1 แห่ง   ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
   2)  สนามบาสเกตบอล     จำนวน 1 แห่ง   ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
   3)  สนามวอลเล่ย์บอล     จำนวน 1 แห่ง   ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
   4)  ลานกีฬาอเนกประสงค์ จำนวน 4 แห่ง   ตั้งอยู่หมู่ที่ 2,4,5,6

การคมนาคม
   1)  ถนนลาดยาง     จำนวน 13 สาย
   2)  ถนนลูกรัง        จำนวน 19 สาย
   3)  ถนนคอนกรีต    จำนวน 28 สาย

การโทรคมนาคม
  1)  สถานีโทรคมนาคม      จำนวน 4 แห่ง
  2)  ตู้โทรศัพท์สาธารณะ    จำนวน 3 แห่ง

การไฟฟ้า 
  การใช้ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ไฟฟ้าสาธารณะและไฟฟ้าเกษตร มีทั้ง 6 หมู่บ้าน แต่ยังไม่ครอบคลุมในบางจุด      

สินค้าที่สำคัญของตำบล
  1)  ลำไย   แหล่งผลิตแห่งแรกของประเทศ  ปลูกที่หมู่ที่ 1-6
  2)  พืชผัก  ปลูกที่หมู่ที่ 1-6

ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
  1)  ทรัพยากรดิน
          ในปัจจุบันการทำเกษตรกรรมในพื้นที่ พืชที่เกษตรกรปลูกตรงกับความเหมาะสมของดินและคุณสมบัติของดิน ซึ่งพื้นดินส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นดินปนทราย เหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืช ผัก และผลไม้ทุกชนิด โดยเฉพาะลำไย

 2)  ทรัพยากรน้ำ
          แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ลำน้ำปิงห่างและลำเหมือง มีแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น เช่น ลำเหมืองชลประทาน ฝายน้ำล้น อ่างเก็บน้ำ ซึ่งมีน้ำใช้ตลอดปี สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตร จำนวน 6 หมู่บ้าน ซึ่งมีดังนี้
      1)  ลำน้ำปิงห่าง     จำนวน 1 แห่ง
      2)  ลำเหมือง         จำนวน 6 หมู่บ้าน
      3)  อ่างเก็บน้ำ        จำนวน 1 แห่ง
      4)  ประปาหมู่บ้าน   จำนวน 6 หมู่บ้าน
      5)  ฝาย                จำนวน 1 แห่ง
      6)  บ่อบาดาล         จำนวน 628 แห่ง